แพทย์โพสต์ข้อความเตือนประชาชนที่ #อยากขายไต ให้คิดดีๆ ชี้ราคาอาจได้ไม่เยอะ แถมอันตรายเสี่ยงไตวายได้ พญ.ศศิธร คุณูปการ หรือ หมอหลินฮุ่ย เจ้าของเพจ เฟซบุ๊ก Doctor Kidney ได้ออกมาพูดถึงกระแส #อยากขายไต เพื่อนำเงินมาประทังชีวิต ใช้หนี้ หรือนำมาซื้อของเช่น ไอโฟน ว่าเป็นอันตรายและเสี่ยงไตวายได้
โดยข้อความเฟซบุ๊กระบุว่า “พักหลังเห็นโพสต์แนวนี้บ่อยๆในกลุ่มคนไข้ไตเรื้อรัง นัยว่า
“#อยากขายไต” เพื่อเอาเงินมาตั้งต้นชีวิตใหม่ แม้กระทั่งในหน้าหนังสือพิมพ์ก็มีให้เห็นเนืองๆ…แต่คนเหล่านี้เค้ารู้ไหมว่า การจะเป็นผู้บริจาคมันไม่ได้ง่ายแบบนั้น มันต้องคัดเลือกทั้งความสมบูรณ์ของร่างกายและอวัยวะ ความเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อ
ขนาดญาติที่มี”ความสัมพันธ์ทางสายเลือด” ยังไม่ได้จะmatchกันง่ายๆเลย นอกจากจะ” ผิดกฎหมาย” แล้ว รพ.ไหนๆก็ไม่รับทำให้ทั้งนั้น เพราะผลลัพธ์ที่ได้ทั้งคนให้และคนรับมักดูไม่จืด คนที่รับก็ได้ของไม่ดี คนที่ให้ก็เสี่ยงต่อการเป็นผู้ป่วยไตวายในอนาคต
ถ้าเคยได้ยินข่าวหนุ่มจีน #ขายไตแลกไอโฟน เมื่อหลายปีก่อน.. สุดท้ายต้องพิการนอนติดเตียง ฟอกไตไปตลอดชีวิต ก็เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน และที่สำคัญ… ราคาของไตหนึ่งข้าง อาจจะได้แค่iphone 12 เพียงหนึ่งเครื่องเท่านั้น ไม่เพียงพอจะปลดหนี้ใดๆ เพราะฉะนั้นคิดดีๆ ก่อนคิดจะทำอะไร
ด้วยรักและห่วงไต”
นักวิทยาศาสตร์อิสราเอล รายงานว่าพบภูมิต้านทานต้านโควิด ใน ทารก หลัง ฉีด วัคซีนโควิด ให้กับแม่ที่ตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสสาม เมื่อวันที่ 17 มีนาคม สำนักข่าว ชาแนลนิวส์เอเชีย รายงานว่า ทีมวิจัยในประเทศอิสราเอลได้ทำการทดลองฉีดวัคซีนไฟเซอร์ วัคซีนต้านโควิด-19 ให้กับหญิงที่ตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสที่ 3 จำนวน 20 คน เมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
ซึ่งจากผลการทดลองพบว่า หญิงตั้งครรภ์และลูกในท้องมีภูมิต้านทานโรคโควิด-19 ซึ่งคาดว่าสาเหตุที่ลูกได้รับภูมิต้านทาน เนื่องจากมีการแลกเปลี่ยนสารระหว่างมารดาและทารก
หลังจากค้นพบครั้งนี้ทางทีมวิจัยจะเตรียมศึกษาต่อไปว่า ภูมิต้านทานจะอยู่ได้นานเท่าใดในตัวของทารก
อย่างไรก็ดีงานวิจัยฉบับนี้ยังไม่ได้รับการตรวจสอบและยอมรับจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ นอกจากนี้สำนักข่าวท้องถิ่นที่รายงานว่า ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม ในกลุ่มตัวอย่างที่มีจำนวนมากขึ้น
ทั้งนี้นี่ไม่ใช่รายงานฉบับเดียวที่รายงานถึงการส่งต่อภูมิคุ้มกันจากแม่สู่ลูก โดยรายงานของสหรัฐฯพบว่าภูมิต้านทานโควิดสามารถส่งต่อจากแม่สู่ลูกผ่าน พลาเซนต้า (รกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) และ นมแม่ ได้
ม.มหิดล คิดค้นนวัตกรรม น้ำยาบ้วนปาก จากสารสกัดข้าวไทย
ม.มหิดล คิดค้นนวัตกรรม น้ำยาบ้วนปาก จากสารสกัดข้าวไทย เพื่อผู้ป่วยสูงอายุที่มีปัญหาโรคในช่องปาก และต่อยอดนวัตกรรมเพื่อลดผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็งศีรษะและลำคอ
(ม.มหิดล, น้ำยาบ้วนปาก) จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยสูงอายุมักมีคราบจุลินทรีย์เกาะที่ง่ามรากฟัน ซึ่งทำความสะอาดได้ยากมากกว่าผู้ป่วยปกติ นอกจากการแปรงฟัน เหงือก และลิ้นแล้ว การใช้น้ำยาบ้วนปากที่เหมาะสม ร่วมกับ การขูดหินน้ำลาย และเกลารากฟัน
โดยทันตแแพทย์ จะช่วยทำให้การทำความสะอาดทั่วถึงขึ้น ในผู้ป่วยสูงอายุที่ไม่สามารถแปรงฟันได้ถนัด เนื่องจากทักษะในการจับแปรงสีฟัน หรือผู้ที่มีโรคทางสายตา ทำให้เกิดพยาธิสภาพในช่องปากตามมา เช่น
การเกิดโรคปริทันต์อักเสบเรื้อรัง มีกลิ่นปาก
การเกิดเชื้อราในช่องปาก ปากแห้ง เหงือก และเยื่อบุช่องปากบาง
ง่ายต่อการระคายเคือง เกิดแผลในช่องปากได้ง่าย
การใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของสารสกัดธรรมชาติที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคในช่องปาก และต้านการอักเสบ ร่วมกับการขูดหินน้ำลายและเกลารากฟัน จึงเป็นความหวังใหม่ในการป้องกันและบรรเทาโรคดังกล่าว
กว่า 10 ปีที่ได้ทุ่มเทศึกษาวิจัยเรื่องการพัฒนานวัตกรรมน้ำยาบ้วนปากจากสารสกัดข้าวไทยอย่างครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ
โดยได้มีความร่วมมือกับ ทันตแพทย์หญิงจินตนา โพคะรัตน์ศิริ และทีมงานผู้วิจัย รวมถึงภาคเอกชนช่วยผลักดันสู่ตลาด รองศาสตราจารย์ ดร.ทันตแพทย์หญิงศรัญญา ตันเจริญ หัวหน้าภาควิชาเภสัชวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
พบว่า ข้าวไทยพันธุ์ต่างๆ ที่มีสี หรือ รงควัตถุ สามารถนำมาเป็นวัตถุดิบในการพัฒนาเป็นโภชนเภสัชภัณฑ์ (Nutraceutical) ที่นำเอาสารสกัดซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ฆ่าเชื้อโรค และป้องกันการเกิดเยื่อบุอ่อนภายในช่องปากอักเสบ
ซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็งศีรษะและลำคอ ด้วยการฉายรังสี หรือได้รับยาเคมีบำบัด มาพัฒนาเป็นน้ำยาบ้วนปากสำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่มีปัญหาโรคในช่องปาก ที่มีความปลอดภัย และมีสรรพคุณที่เหมาะกับผู้สูงอายุ
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป